วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553


ดาวเสาร์ (Saturn)

ข้อมูลดาวเสาร์
เส้นผ่าศูนย์กลาง 120,000 กิโลเมตรมวล (โลก = 1) 95.16 เท่าของโลกความหนาแน่นเฉลี่ย 700 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตรคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 29.5 ปีคาบการหมุนรอบตัวเอง 10 ชั่วโมง 34 นาที ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 1,430 ล้านกิโลเมตร

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากดาวพฤหัสบดี เส้นผ่าศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตรยาวเป็น 9 เท่าของโลก เป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ไกลสุดที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดวงสีเหลืองอ่อน

โครงสร้างดาวเสาร์ดาวเสาร์มีลักษณะรูปทรงแป้นเนื่องจากหมุนรอบตัวเองเร็วในคาบประมาณ 10.5 ชั่วโมง ทำให้ เส้นผ่าศูนย์กลางในแนวศูนย์สูตรยาวกว่าเมื่อวัดในแนวขั้ว ดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยราว 70 % ของน้ำ หมายความว่า หากหาทะเลสาปใหญ่พอที่จะรองรับดาวเสาร์ ดาวเสาร์จะลอยน้ำได้ สันนิษฐานว่าใจกลางดาวเสาร์อาจเป็นแกนหิน ล้อมรอบด้วยชั้นไฮโดรเจนในลักษณะเป็นโลหะแข็งสูงถัดขึ้นมาเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมในสภาพของเหลวคล้ายกับดาวพฤหัสบดีบรรยากาศประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนประมาณ 96.3 % และก๊าซฮีเลียม 3.3 % พบพายุหมุนรูปไข่คล้ายกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี มีอายุยาวนาน ปรากฏอยู่ในแถบเมฆ ของกระแสพายุและลักษณะอื่น ๆ คล้ายกับดาวพฤหัสบดีแต่มีขนาดเล็กกว่าและเบาบางกว่า พบกระแสลมพัดบนดาวเสาร์ด้วยความเร็วสูงถึง 1800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กระแสลมแรงบริเวณ ใกล้เส้นศูนย์สูตร แต่ความเร็วลดลงในระดับละติจูดสูงขึ้นไป


วงแหวนดาวเสาร์ ภาพถ่ายจากยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 สำรวจดาวเสาร์ในปี พ.ศ.2523 -2524 พบวงแหวน หลายพันวง โดยแบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ ๆ 7 ชั้น ด้วยช่องว่างระหว่างวงแหวน วงแหวนประกอบด้วยอนุภาคน้ำแข็งและก้อนหินที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ขนาดเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เท่าเม็ดทรายจนถึงหลายเมตร มีหลากหลายสี แสดงว่าวงแหวนประกอบด้วยมวลสาร หลายชนิด หากรวมอนุภาคในวงแหวนทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นก้อนเดียว อาจได้วัตถุก้อนหนึ่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรเท่านั้น สันนิษฐานว่าวงแหวนอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับบริวารดวงอื่น ๆ อาจเป็นได้ว่าบริวารดวงหนึ่ง อยู่ใกล้ตัวดาวเสาร์มากเกินไป จนถูกแรงโน้มถ่วงสูงจากดาวเสาร์ทำให้แตกกระจายออก และ ดึงดูดมวลสารเหล่านั้นกลายเป็นวงแหวนรอบตัวดาวเสาร์ วงแหวนแบ่งออกเป็นหลายชั้น พบช่องว่างระหว่างวงแหวน คือ ช่องว่างแคสสินี และ ช่องว่างเอนเค บริวารดาวเสาร์นับถึงปี พ.ศ.2544 ค้นพบบริวารดาวเสาร์เพิ่มขึ้น ดวงที่กำหนดชื่อเรียกเป็นทางการมีจำนวน 18 ดวง และเพิ่งค้นพบใหม่ในปี พ.ศ.2543 เป็นดวงเล็ก ๆ อีก 12 ดวง แต่ยังไม่กำหนดชื่อเป็นทางการ และยังต้องการการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน เนื่องจากบางดวงตรวจพบจากภาพถ่ายของ ยานวอยเอเจอร์ 2 บางดวงพบจากภาพถ่ายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และบางดวงอาจ ซ้ำกับบริวารดวงเดิม จึงต้องรอการตรวจสอบยืนยันจากยานแคสสินีที่จะเดินทางไปถึงดาวเสาร์ในปี พ.ศ.2547

ไททัน เป็นบริวารดวงใหญ่สุดของดาวเสาร์ และใหญ่เป็นที่สองใน บรรดาบิรวารของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ รองจากดวงจันทร์ แกนิมีดของดาวพฤหัสบดี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5,150 กิโลเมตร เป็นบริวารดวงเดียวที่รู้แน่ชัดว่ามีบรรยากาศห่อหุ้ม

บรรยากาศหนาทึบด้วยไนโตรเจน และมีเธน มีหมอกมัวหนาทึบจนไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวซึ่งอาจเป็นน้ำแข็งหรือหินแข็ง อาจมีทะเลของอีเทนหรือมีเทนเหลว ซึ่งมีเทนอาจเปลี่ยนรูปเป็นอีเทน อะเซททีลีน เอททีลีน และรวมตัวกับไนโตรเจน เกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นโมเลกุลพื้นฐานของกรดอะมิโน ซึ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต โมเลกุลของอินทรีย์ซับซ้อนเกิดขึ้นในบรรยากาศและตกลงสู่พื้นผิวด้วยวิธีเดียวกับโมเลกุลอินทรีย์ในบรรยากาศโลกเมื่อเริ่มมีสิ่งมีชีวิตกำเนิดบนโลก สภาพบนไททันอาจคล้ายกับ สภาพที่เคยเกิดขึ้นในบรรยากาศโลกเมื่อหลายพันล้านปีก่อน การเรียนรู้สภาพเคมีในบรรยากาศของไททันอาจเป็นกุญแจสำคัญ ให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการ ของการเกิดสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มบนโลกของเราก็ได

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น